ผู้ติดตาม

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การแต่งกายภาคอิสาน

| | 0 ความคิดเห็น

การแต่งกายประจำภาคอีสาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)

ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มอีสานใต้ คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว

ที่มาจาก google.com
Read more...

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การแสดงของภาคอีสาน

| | 0 ความคิดเห็น

ตัวอย่างการแสดงของภาคอีสานการเซิ้งบั้งไฟ



การแสดงของภาคอีสาน
เพลงพื้นบ้าน (Folk Song) คือเพลงของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง และเป็นที่รู้จักกันดีเฉพาะถิ่นนั้นๆ ลีลาการขับร้องหรือการฟ้อนรำจึงมีอิสระทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา จึงเป็นที่นิยมของชาวบ้าน ด้วยสาเหตุที่เพลงพื้นบ้านใช้ภาษาถิ่น ใช้ทำนองสนุก จังหวะเร้าใจ เนื้อหาถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด อุดมการณ์ ความเป็นอยู่และภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นดังนี้1. กลุ่มอีสานเหนือ ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงที่เรียกว่า กลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำหมอแคน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากที่สุดในภาคอีสาน
เพลงพิธีกรรม กลุ่มไทยลาวหรือกลุ่มหมอลำหมอแคนในกลุ่มไทยลาวนี้มี "ฮีตสิบสองคองสิบสี่" เป็นบทบัญญัติในการควบคุมสังคมอีสานเพื่อให้ประชาชนได้ประพฤติปฏิบัติตามเมื่อถึงเวลา ลักษณะของจารีตประเพณีที่ปรากฏอยู่ในฮีตสิบสองอันเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น งานบุญต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเชื่อทางจิตวิญญาณตั้งแต่เกิดจนตาย แบ่งได้เป็น
เพลงเซิ้งต่างๆ เป็นเพลงที่ใช้ร้องประกอบพิธีตามความเชื่อของชาวอีสาน เช่น
เพลงเซิ้งบั้งไฟ
เซิ้งนางแมว
เซิ้งนางด้ง
เซิ้งผีโขน ใช้ร้องโดยมีจุดมุ่งหมายในการร้องเพื่อให้เกิดความสนุกสนานดึงดูดให้คนไปร่วมพิธี และการร้องเพลงเซิ้งยังเป็นสื่อกลางในการขอความร่วมมือในพิธีนั้น เช่น ขอเงิน ขอสิ่งของ หรือขอความร่วมมืออื่นๆ ตามแต่จะต้องการ การร้องเพลงเซิ้งจะประกอบด้วยคนขับกาพย์นำและจะมีลูกคู่คอยร้องรับ ลักษณะบทเพลงจะเป็นเพลงแบบด้นกลอนสด รายละเอียดเกี่ยวกับ
การเซิ้งแบบต่างๆ
เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน เป็นเพลงร้องเล่นสำหรับหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่ร้องเพื่อความสนุกสนานในงานเทศกาลหรือวาระพิเศษ เช่น งานสงกรานต์ ผ้าป่า กฐิน งานบวชนาค ได้แก่ หมอลำหรือการลำแบบต่างๆ
หมอลำพื้น คือ หมอลำเป็นชายที่ลำเกี่ยวกับเรื่องนิทานต่างๆ
หมอลำกลอน คือ หมอลำชายหญิงที่ลำเกี่ยวกับเรื่องราวของความรักโต้ตอบกัน
หมอลำหมู่ เป็นกลุ่มของหมอลำที่ลำเป็นเรื่อง และใช้ทำนองเศร้า
หมอลำเพลิน เป็นคณะหมอลำที่ลำเรื่องใช้ทำนองสนุกสนาน
หมอลำผีฟ้า คือ การลำรักษาคนเจ็บไข้ ซึ่งเราจัดอยู่ในกลุ่มของเพลงพิธีกรรม รายละเอียดของกลอนต่างๆ ดูได้ในเรื่อง
หมอลำ : ศิลปะพื้นบ้านที่ไม่มีวันตาย

2. กลุ่มอีสานใต้ แบ่งออกเป็นกลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมเขมร-ส่วย หรือเรียกว่า กลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือเรียกว่า กลุ่มเพลงโคราช
เพลงพิธีกรรม
เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนกำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นมม็วตไม่จำกัดจำนวน ในจำนวนผู้เล่นนั้นจะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโส ทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่างๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง
เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน
กันตรึม กันตรึมเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของอีสานใต้ กันตรึมหรือโจ๊ะกันตรึมยังเป็นที่นิยมและมีบทบาทสำคัญตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันสำหรับชาวอีสานใต้ เช่นเดียวกับหมอลำของชาวอีสานเหนือ ประวัติของการเล่นกันตรึมนี้ไม่มีผู้ทราบที่มาอย่างแน่นอน แต่เชื่อว่าการละเล่นกันตรึมนี้ได้รับการถ่ายทอดมาจากขอม วงกันตรึมยังใช้แสดงในงานต่างๆ เสมอ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานศพหรืองานพิธีกรรมอื่น แต่จังหวะลีลาในการแสดงจะแตกต่างกันออกไปตามพิธีของแต่ละงาน โดยเฉพาะเครื่องดนตรีประกอบการแสดงกันตรึมก็จะแตกต่างกัน เช่น การแสดงในงานศพจะใช้ปี่อ้อมาบรรเลง แต่ถ้าเป็นงานแต่งงานก็จะใช้ปี่เตรียงหรือปี่เญ็นแทนปี่อ้อ ส่วนเนื้อร้องก็เปลี่ยนไปให้เหมาะสมกับแต่ละงาน บทเพลงและทำนองเพลงกันตรึมมีหลากหลาย แต่พอจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
บทเพลงชั้นสูงหรือเพลงครู เป็นเพลงที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มักจะนำมาบรรเลงก่อนเพลงอื่นๆ ส่วนมากมีท่วงทำนองช้า
บทเพลงสำหรับขบวนแห่ ใช้บรรเลงในขบวนแห่ต่างๆ มีท่วงทำนองสนุกสนาน และใช้บรรเลงประกอบการขับร้องและการฟ้อนรำ
บทเพลงเบ็ดเตล็ด เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนองลีลารวดเร็ว สนุกสนาน มักจะใช้บรรเลงบนเวที
เจรียง หรือจำเรียง ซึ่งเป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ร้อง เป็นการขับร้องเป็นทำนองเสนาะแบบการอ่านทำนองเสนาะ ใช้ในการเล่าเรื่องโบราณวัฒนธรรมความเป็นอยู่และประเพณี หรือเล่านิทานเป็นการสั่งสอนให้คนทำความดี ลักษณะของเจรียงจึงคล้ายกับหมอลำและเพลงโคราช ดนตรีที่ใช้ประกอบคือ แคน การแสดงประกอบด้วยผู้ร้องฝ่ายชาย 1 คน และฝ่ายหญิง 1 คน คนเป่าแคนอีก 1 คน การแสดงอย่างเดียวกันนี้ในประเทศกัมพูชา เรียกว่า "โอะกัญโตล" การเจรียงจะเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครูเป็นการรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ แล้วเริ่มบทปฏิสันฐานกับผู้ฟังบอกเล่าถึงความสำคัญของการแสดงว่างานนั้นๆ มีการบำเพ็ญกุศลอะไร บางครั้งก็ยกนิทานประกอบ การเจรียงอาจจะเจรียงเป็นกระทู้ถามตอบ ในช่วงหลังๆ จะเพิ่มความสนุกสนานโดยใช้บทหยอกล้อกระทบกระเทียบในลักษณะตลกคะนอง การเจรียงแบ่งออกได้หลายแบบเช่น
เจรียงซันตรูจ เป็นการร้องเล่นในเทศกาลต่างๆ โดยชายหนุ่มจะหาคันเบ็ดมาหนึ่งคัน แล้วใช้ขนมต้มหรือผลไม้ผูกไว้ที่เชือกเบ็ด แล้วนำเบ็ดไปหย่อนล่อหญิงสาวถ้าหญิงสาวผู้ใดรับเหยื่อก้แสดงว่ารัก
เจรียงกันกรอบกัย (เพลงปรบไก) เป็นการเล่นเจรียงคนเดียว ไม่มีดนตรีเป็นแบบแผน ส่วนใหญ่ใช้วิธีตบมือหรือสีซอเป็นการเจรียงแบบตลก
เจรียงตรัว เป็นการขับร้องเดี่ยวเป็นนิทาน ประกอบซอ คล้ายการ ลำพื้น ของชาวอีสานเหนือ ผู้ขับร้องจะสีซอไปด้วย
เจรียงจะเป่ย เป็นการขับร้องเดียวเป็นนิทาน ประกอบพิณกระจับปี่ มีผู้เล่นคนเดียวเป็นผู้ขับร้องและดีดจะเป่ย
เจรียง-จรวง แปลว่าขับร้องโดยปี่จรวงเป่าประกอบ เป็นการขับร้องโต้ถามกันเป็นเรื่องตำนาน สุภาษิตต่างๆ เดิมใช้ปี่จรวงประกอบแต่ปัจจุบันใช้ซอแทน
เจรียงนอรแก้ว มีผู้แสดงประกอบด้วยชาย 2 คน หญิง 2 คน เป็นการเล่นโต้ตอบระหว่างชายหญิง โดยแต่ละฝ่ายจะมีพ่อเพลงและแม่เพลงร้องนำและมีลูกคู่ร้องตาม ต่อจากนั้นชาย-หญิงแต่ละฝ่ายจึงร้องโต้ตอบกันเป็นคู่ๆ โดยไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ
เจรียงปังนา เป็นการขับร้องคล้ายกับเจรียงนอรแก้ว แต่มีจังหวะเร็วกว่า มีผู้แสดงประกอบด้วยชาย 1 คน หยิง 1 คน กลองโทน 1 คน ขับร้องโดยบรรยายเรื่องราวตามต้องการ
เจรียงเบริน เป็นการร้องเพลงคลอกับซอแบบร้องคู่ชาย-หยิง คล้าย "หมอลำกลอน" ของชาวอีสานเป็นทำนองขับลำนำเรื่องราวหรือโต้ตอบซักถามนิทานชาดก
เจรียงตรุษ เป็นการร้องรำเป็นกลุ่มในวันขึ้นปีใหม่ (13 เมษายน) โดยมีพ่อเพลงร้องนำแล้วลูกคู่ก็ร้องตาม หรือร้องรับเดินทางเป็นคณะไปร้องอวยพรตามบ้านต่างๆ เมื่ออวยพรเสร็จก็จะขอบริจาคเงินเพื่อไปทำสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ลักษณะการร้องรำอันนี้คล้ายกับการเซิ้งบั้งไฟของชาวอีสานเหนือ
เจรียงกันตรึม ใช้ในงานมงคลโดยเฉพาะ เช่น กล่อมหอ ในงานแต่งงานขึ้นบ้านใหม่ มีผู้เล่นประกอบ 4 คน เป็นชายทั้งหมด เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ 1 คน ซอด้วง 1 คน กลองโทน 2 คน คนตีกลองจะเป็นผู้ขับร้อง
อาไย เป็นเพลงปฏิพากษ์ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาว คล้ายเพลงอีแซวหรือลำตัดของภาคกลาง จะเล่นประกอบกับเครื่องมโหรี วิธีเล่นจะแบ่งเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจำนวนเป็นคู่เท่าๆ กัน ไม่เกิน 4 คู่ แต่ละคู่จะยืนหันหน้าเข้าหากันและร้องโต้ตอบกัน เปลี่ยนคู่เวียนไปเรื่อยๆ ในระหว่างที่ร้องจบดนตรีก็จะรับเป็นท่อนๆ และในช่วงดนตรีรับนี้ทั้งฝ่ายหญิงและชายจะรำต้อนกัน
เพลงโคราช เป็นเพลงพื้นบ้านที่มีอายุเก่าแก่มาก และเป็นเพลงครูของเพลงพื้นบ้านอื่นๆ เช่น เพลงฉ่อย ซึ่งใช้กลอนเพลงโคราชเป็นบทไหว้ครู เพลงโคราชเป็นกลอนปฏิพากย์คือเป็นการใช้ปฏิภาณในการแก้ปัญหาร้องโต้ตอบกัน ว่าแก้กันทันควันทันทีไม่ต้องอาศัยบทใดๆ เลย ลักษณะเป็นกลอนด้นนิยมเล่นอักษรสัมผัส ทำให้มีความไพเราะขึ้น ภาษาที่ใช้ในกลอนเพลงโคราชจะใช้ภาษาโคราช ซึ่งมีลักษณะคล้ายภาษาไทยภาคกลางแต่เพี้ยนหรือแปร่งไป เพลงโคราชจะเล่นในโอกาสงานมงคลต่างๆ เช่น งานบวช งานโกนจุก งานทำบุญ หรือแม้แต่งานศพก็เล่นเพลงโคราชได้เช่นกัน เพลงโคราชคณะหนึ่งๆ มีผู้เล่นเพลงประมาณ 6 คน แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงอย่างละเท่าๆ กัน สถานที่เล่นเดิมเล่นตามลานบ้าน ต่อมามีการยกเวทีขึ้น 4 เสามีหลังคา เริ่มเล่นโดยผู้เล่นที่มีอาวุโสหรือหมอเพลงจะออกมาร้องก่อน แล้วฝ่ายหญิงจะว่าบทไหว้ครู ตามด้วยการร้องเกริ่นโต้ตอบกันไปทั้งสองฝ่าย ลักษณะการเล่นเพลงโคราชแบ่งได้อย่างกว้างๆ 3 ประเภทคือ
เกี้ยวพาราสี เนื้อร้องจะเป็นคำเกี้ยวพาราสีระหว่างหญิงชาย ในบางครั้งอาจมีคำเสียดสี ถ้อยคำที่รุนแรงและหยาบ ซึ่งเป็นลักษณะของเพลงพื้นบ้านทั่วไป
ลองปัญญา เป็นการนำเอาปัญหาหรือปรัชญาพุทธศาสนา หรือตำนานเรื่องต่างๆ มาซักถาม ฝ่ายใดที่ตอบไม่ได้ก็จะถูกว่าให้ได้อาย
เล่าเป็นเรื่อง เช่น ยกนิทานที่มีคติสอนใจ หรือจับเรื่องราวตามธรรมเนียมของเพลงพื้นบ้านอื่นๆ โดยสมมติตัวละคร


ที่มาจาก google.com
Read more...

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภาษาและอาหารของภาคอีสาน

| | 0 ความคิดเห็น

อาหารอีสาน

หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา
ลักษณะการปรุงอาหารพื้นเมืองอีสาน
ลาบ เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า พริก ข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมือง นิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่
ก้อย เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ ทานกับผักสดนานาชนิด
ส่า เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น
แซ หรือ แซ่ เป็นอาหารประเภทยำที่นำเนื้อสดๆมาปรุงนิยมใช้กับเนื้อวัวและหมู คล้ายๆลาบแต่มักใส่เลือดสดๆด้วย กินกับผักสดตามชอบ คนโบราณนิยมกินเพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง ปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในชนบทที่ห่างไกล
อ่อม เป็นอาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อ ไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อเขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผัก
อ๋อ ลักษณะคล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก) นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้ง หรือไข่มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุก
หมก เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผักและหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ
อู๋ คล้ายหมกแต่ไม่ใช้ใบตอง นิยมใช้กับเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาตัวเล็กๆ กับพวกลูกอ๊อดกบ
หม่ำ คือ ไส้กรอกเนื้อวัวผสมตับ ตะไคร้และเครื่องเทศอื่นๆหม่ำขึ้ปลา มีลักษณะคล้ายปลาร้าชนิดหนึ่งรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว หมักกับข้าวเหนียว
แจ่ว คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด ลวก หรือนึ่ง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก
ตำซั่ว เป็นอาหารประเภทส้มตำชนิดหนึ่ง แต่ใส่ส่วนประกอบมากกว่า คือ ใส่ขนมจีน ผักดอง ผัก(เหมือนที่ใส่ขนมจีน) และมะเขือลาย หรือผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย ผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย

ภาษาในภาคอีสาน
ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน แต่ภาษาไทยกลางก็นิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมร ที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นอื่นๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น
ที่มา www.google.com
Read more...

ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอีสาน

| | 0 ความคิดเห็น

ศิลปะวัฒธนธรรมประเพณีอิสาน


ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น เช่น ประชาชนชาวอีสานแถบจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศลาว ประชาชนของทั้งสองประเทศมีการเดินทางไปมาหากัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีระหว่างกัน ซึ่งเราจะพบว่าชาวไทยอีสานและชาวลาวแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายๆกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิตก็มีความคล้ายคลึงกันด้วย รวมทั้งชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในช่วงสงครามเวียดนาม ก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของเวียดนามเข้ามาด้วย ถึงแม้ปัจจุบันชาวเวียดนามเหล่านี้จะได้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีสาน (เพื่อให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น) โดยเฉพาะชาวเวียดนามที่เป็นวัยรุ่นในปัจจุบันได้รับการศึกษาที่ดีเหมือนกับชาวไทยทุกประการ จนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นคนไทยอีสานหรือคนเวียดนามกันแน่ ส่วนใหญ่ก็จะเห่อวัฒนธรรมตะวันตก(เหมือนเด็กวัยรุ่นของไทย)จนลืมวัฒนธรรมอันดีงามของตัวเอง แต่ก็ยังมีชาวเวียดนามบางกลุ่มส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุยังคงยึดมั่นกับวัฒนธรรมของตนเองอยู่อย่างมั่นคง ท่านสามรถศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบเวียดนามได้ตามชุมชนชาวเวียดนามในจังหวัดที่กล่าวมาแล้ว ส่วนประชาชนที่อยู่ทางจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา มีการติดต่อกันกับประชาชนชาวกัมพูชาก็จะรับเอาวัฒนธรรมของกัมพูชามาประยุกต์ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววัฒนธรรมประเพณีของคนทั้งสองเชื้อชาติก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่แล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆของไทยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งวัฒนธรรมทางด้านการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งเราสามารถสังเกตรูปแบบวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวอีสานผ่านทางประเพณีต่างๆที่ชาวอีสานจัดขึ้นซึ่งสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมอีสานได้เป็นอย่างดี

ศิลปะอีสาน

ศิลปะของชาวอีสานมีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆที่ค้นพบ ไม่ว่าจะเป็นที่อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี หรือถ้ำผ่ามือแดง จังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ (ซึ่งบางแห่งเชื่อกันว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในโลก) ล้วนแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของชาวอีสานรู้จักใช้งานศิลปะพวกภาพและสัญลักษณ์ต่างๆเป็นตัวสื่อความหมายมาเป็นเวลานาน และยังรู้จักเลือกใช้สีและวัสดุที่มีความคงทนสามารถทนต่อสภาพดินฝ้าอากาศและการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดีตราบถึงปัจจุบัน ที่ยังคงบอกเรื่องราวการดำเนินชีวิตของบรรพบุรุษของชาวอีสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์หลายท่านพยายามศึกษาว่าคนยุคก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้ใช้สีที่ทำมาจากอะไรจึงสามารถคงทนได้นานเช่นนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถไขข้อสงสัยนี้ได้ เชื่อว่าในอนาคตไม่ช้านี้คงจะสามารถค้นพบความจริงที่เก็บซ่อนมาเป็นเวลายาวนาน และเมื่อถึงเวลานั้นเราอาจจะหันกลับไปใช้กรมวิธีเช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของเราเคยใช้ หลังจากที่เราใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มานาน นอกจากนี้การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็นับเป็นหนึ่งในศิลปะที่ชาวอีสานภาคภูมิใจ บ้านเรือนของชาวอีสานสร้างสถาปัตยกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาดรุ่นบรรพบุรุษ เริ่มจากเถียงนาน้อย ค่อยๆกลายมาเป็นบ้านไม้ที่มีความคงทนถาวร จนในปัจจุบันเป็นบ้านก่ออิฐถือปูนเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ยังมีบ้านเรือนเป็นจำนวนมากที่ยังคงอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานโบราณไว้เป็นอย่างดี สถานที่ที่เราจะสามารถชมศิลปะแบบอีสานได้ดีที่สุดคือตามศาสนสถานวัดวาอารามต่าง ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้คนในชุมชนมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล วัดวาอารามต่างๆล้วนได้รับการดูแลรักษาจากพระสงฆ์และคนในชุมชนเป็นอย่างดี ทำให้เป็นแหล่งสืบสานศิลปะอีสานที่มีมาแต่โบราณจนตราบถึงปัจจุบันยุคที่ผู้คนชาวอีสานเริ่มลืมศิลปะที่ดีงามของตัวเองไปแล้ว

ประเพณีอีสาน

ประเพณีของชาวอีสานมีความหลากหลายและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ประเพณีส่วนใหญ่จะเกิดจากความเชื่อ ค่านิยม และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น และอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อคนในท้องถิ่น ประเพณีต่างๆถูกจัดขึ้นเพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพและเพื่อถ่ายทอดแนวความคิด ค่านิยมที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร เกิดจากการที่คนในท้องถิ่นนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เชื่อว่าการจุดบั้งไฟจะทำให้ผญาแถนดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม เพราะจังหวัดนี้ติดแม่น้ำโขงและใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงมาตลอด จึงอยากขอบคุณพระแม่คงคาประจำลำน้ำโขงที่ได้ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่สังคมริมฝั่งโขง ดังนั้นจึงจัดประเพณีไหลเรือไฟขึ้นมา
Read more...

มิวสิกวิดีโอ

| | 0 ความคิดเห็น




ที่มาจาก youtube
Read more...

รูปของฉัน

guestbook

เวลา

picasaweb

falgcounter

free counters

มุกมิก

สถานที่ที่ติดต่อได้

คณะการทองเที่ยวและการโรงแรม
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
 
 

mookkapook | Diseñado por: Compartidísimo
Con imágenes de: Scrappingmar©

 
top